วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พัฒนาการทางการพูดของเด็กที่มีประสาทหูพิการ


พัฒนาการทางการพูดของเด็กที่มีประสาทหูพิการ
ในเด็กที่มีประสาทหูพิการ พัฒนาการทางการพูดจะไม่เป็นไปตามลำดับขั้นพัฒนาการปกติ เด็กอาจจะมีระยะส่งเสียง อือ อา แต่จะไม่สามารถส่งเสียงเลียนคำพูดของผู้อื่นได้ เมื่ออายุ 1 ปี ก็ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ เด็กพวกนี้จะร้องเสียงดังเพราะไม่สามารถปรับความดังค่อยของเสียงตนเองได้ ถ้าหูตึงมากก็อาจพูดเป็นคำได้ช้า คือ อายุเกิน 2 ปี แล้วจึงเริ่มพูด หรือถ้าหูหนวกก็ไม่สามารถพูดเป็นคำได้เลย

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย


พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
                การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไปจากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก ก่อนวัยเรียน (อายุ 0-6 ปี) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรก ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ 2 ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง 4-6 ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุผลมากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย


สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม




ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม

    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาตัวเด็ก ดังนี้
1. ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงและสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่
เกิดขึ้นในแต่ละวัย การเจริญเติบโตของเด็กจะดำเนินไปตามแบบแผนของพัฒนาการที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่แน่นอน พัฒนาการของเด็กที่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปของเด็กในวัยเดียวกัน แสดงว่ามีพัฒนาการสมวัย หากพัฒนาการใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีพัฒนาการล่าช้าหรือผิดปกติได้ จำเป็นต้องรีบค้นหาสาเหตุและแก้ไข

ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย



ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย

ปัญหาในการใช้ภาษาถือเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่สำคัญกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย เนื่องจาก ภาษาเป็นสิ่งสำคัญของการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเด็ก ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจมีที่มาจากหลายสาเหตุ อาทิ อาการผิดปกติของระบบสมองและประสาท ที่บังคับควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด หูหนวกทำให้ไม่ได้ยินเสียงที่ผู้อื่นพูด เมื่อไม่ได้ยินเสียง เด็กจึงไม่สารถเลียนแบบเสียงผู้อื่นเพื่อฝึกพูดได้ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางร่างกาย อาการตึงเครียดทางอารมณ์ทำให้หมดความสนใจที่จะฝึกฝนการพูดก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่เกี่ยวข้อง

บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา




บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยต่อพัฒนาการทางภาษา

   จากเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กในวัยนี้ ควรให้ความสนใจ เพื่อเป็นรากฐานในการนำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็กปฐมวัย ซึ่งบุคคลที่สำคัญกับเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนครู อาจารย์ที่ทำหน้าที่ให้ความรู้แก่เด็ก ได้เข้าใจและนำความรู้ไปปฏิบัติต่อไป